วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555

จำนวนตรรกยะ

จำนวนตรรกยะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ในทางคณิตศาสตร์ จำนวนตรรกยะ (หรือเศษส่วน) คืออัตราส่วนของจำนวนเต็มสองจำนวน มักเขียนอยู่ในรูปเศษส่วน a/b เมื่อ a และ b เป็นจำนวนเต็ม และ b ไม่เท่ากับศูนย์
จำนวนตรรกยะแต่ละจำนวนสามารถเขียนได้ในรูปแบบที่หลากหลาย ตัวอย่างเช่น 3 / 6 = 2 / 4 = 1 / 2 รูปแบบที่เรียกว่า เศษส่วนอย่างต่ำ a และ b นั้น a และ b จะต้องไม่มีตัวหารร่วม และจำนวนตรรกยะทุกจำนวนสามารถเขียนได้ในรูปเศษส่วนอย่างต่ำนี้
นอกจากนี้ จำนวนตรรกยะทุกจำนวนยังสามารถเขียนได้ในรูปของทศนิยมรู้จบหรือทศนิยมซ้ำอย่างใดอย่างหนึ่ง[1] เช่น 1 / 2 = 0.5 เป็นทศนิยมรู้จบ, 2 / 3 = 0.666... และ 1 / 7 = 0.142857142857... เป็นทศนิยมซ้ำ เป็นต้น
จำนวนจริงที่ไม่ใช่จำนวนตรรกยะ เรียกว่า จำนวนอตรรกยะ
ในทางคณิตศาสตร์ "...ตรรกยะ" หมายถึง การจำกัดขอบเขตให้อยู่ในระบบจำนวนตรรกยะเท่านั้น เช่น พหุนามตรรกยะ
เซตของจำนวนตรรกยะทั้งหมดเราใช้สัญลักษณ์ Q หรือ Blackboard Bold \mathbb{Q} โดยใช้เซตเงื่อนไข ได้ดังนี้

\mathbb{Q} = \left\{\frac{m}{n} : m \in \mathbb{Z}, n \in \mathbb{Z}, n \ne 0 \right\}
เลขคณิต การบวกและการคูณจำนวนตรรกยะสามารถทำได้โดยหลักต่อไปนี้
\frac{a}{b} + \frac{c}{d} = \frac{ad+bc}{bd}

\frac{a}{b} \cdot \frac{c}{d} = \frac{ac}{bd}

จำนวนตรรกยะสองจำนวน \frac{a}{b} และ \frac{c}{d} จะเท่ากัน ก็ต่อเมื่อ ad = bc
การบวกและการคูณจำนวนตรรกยะกับจำนวนตรงข้ามสามารถทำได้โดย
- \left ( \frac{a}{b} \right) = \frac{-a}{b}

\left (\frac{a}{b}\right) ^{-1} = \frac{b}{a} \mbox{ if } a \neq 0

[แก้] ประวัติศาสตร์

[แก้] เศษส่วนอียิปต์

จำนวนตรรกยะใดๆ สามารถเขียนให้อยู่ในรูปผลรวมของส่วนกลับของจำนวนเต็มบวก
เช่น \frac{5}{7} = \frac{1}{2} + \frac{1}{6} + \frac{1}{21}
สำหรับจำนวนตรรกยะบวกใดๆ จะสามารถเขียนได้หลายรูปแบบ เราเรียกรูปแบบนี้ว่า เศษส่วนอียิปต์ เพราะชาวอียิปต์สมัยโบราณใช้จำนวนและรูปแบบเหล่านี้ เนื่องจากอักษรอียิปต์โบราณจะใช้สัญลักษณ์ที่มีรูปร่างคล้ายปาก (ออกเสียงเหมือน R) ในการเขียนจำนวนเหล่านี้ เศษส่วนด้านบนจะสามารถเขียนได้ว่า R2R6R21 หรือใช้อักษรอียิปต์โบราณ เขียนจากซ้ายไปขวา ได้ดังนี้
Aa13
D21
Z1 Z1 Z1 Z1 Z1 Z1
D21
V20 V20 Z1
½ เป็นหนึ่งในสามข้อยกเว้น ซึ่งสามารถเขียนได้ตามอักษรอียิปต์โบราณด้านบน ส่วนข้อยกเว้นที่เหลืออีกสองจำนวน คือ
D22
 = \frac{2}{3}
D23
 = \frac{3}{4}
ชาวอียิปต์ยังมีรูปแบบการเขียนที่แตกต่างออกไปสำหรับเศษส่วนไดแอดิก ดูเพิ่มเติมที่ตัวเลขอียิปต์.

[แก้] รูปแบบมาตรฐาน

ในทางคณิตศาสตร์ เรากำหนดให้จำนวนตรรกยะเป็นคู่ลำดับของจำนวนเต็ม \left (a, b\right) เมื่อ b ไม่เท่ากับศูนย์ เรากำหนดนิยามการบวกและการคูณของคู่ลำดับเหล่านี้โดย
\left (a, b\right) + \left (c, d\right) = \left (ad + bc, bd\right)
\left (a, b\right) \times \left (c, d\right) = \left (ac, bd\right)
เพื่อให้เป็นไปตามหลักสากล ซึ่ง 2 / 4 = 1 / 2, เราใช้สมบัติการเท่ากัน โดยใช้กฎดังนี้
\left (a, b\right) \sim \left (c, d\right) \mbox{ iff } ad = bc
สมบัติการเท่ากันนี้ใช้ได้ทั้งการบวกและการคูณตามที่กำหนดไว้ด้านบน และเราอาจกำหนด Q ให้เป็นเซตการหารของ ~ เช่น เรากำหนดคู่ลำดับสองคู่ (a, b) และ (c, d) โดยคู่ลำดับทั้งสองเท่ากันตามหลักด้านบน
เราอาจกำหนดกฎการเรียงลำดับใน Q โดย
\left (a, b\right) \le \left (c, d\right) \mbox{ iff } ad \le bc

[แก้] สมบัติของจำนวนตรรกยะ

จำนวนตรรกยะ คือ จำนวนที่สามารถเขียนในรูปเศษส่วน a/b เมื่อ a และ b เป็นจำนวนเต็มโดยที่ b ไม่เท่ากับ 0 จำนวนตรรกยะ จำแนกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
  1. จำนวนเต็ม (Integer) ประกอบไปด้วยจำนวนธรรมชาติ จำนวนลบ และจำนวนศูนย์ เซตของจำนวนเต็มมักเขียนอยู่ในรูป Z ซึ่งมาจากคำว่า Zahlen (ภาษาเยอรมัน)
  2. เศษส่วน (Fraction)
  3. ทศนิยม (Repeating decimal)
ที่มาจาก http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%A2%E0%B8%B0

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น